แบบทดสอบ IQ EQ และสุขภาพจิต จากกรมสุขภาพจิต
หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับการทดสอบสติปัญญา การเรียนรู้ และพัฒนาการของเด็ก ดิฉันขอแนะนำให้เริ่มต้นที่นี่ค่ะ สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต สถาบันแห่งนี้นอกจากมีข้อมูลให้ศึกษาแล้วยังให้บริการคำปรึกษารวมถึงการบำบัดรักษาแก่ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาด้วยค่ะ ในส่วนผู้ปกครองที่ไม่มีทุนทรัพย์มากนักทางสถาบันก็มีมูลนิธิช่วยเหลือด้วยนะคะ
ในเบื้องต้นหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือพัฒนาการต่าง ๆ เราอาจจะเข้าไปทำแบบทดสอบด้วยตัวเองก่อนได้ค่ะ ทางสถาบันมีบริการ แบบทดสอบออนไลน์ ซึ่งเป็นแบบทดสอบด้านสุขภาพจิตที่ผ่านการรับรองจากกรมสุขภาพจิตแล้วค่ะ
แบบทดสอบออนไลน์ด้าน IQ EQ
- แบบสังเกตลักษณะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กอายุ 6-11 ปี สำหรับพ่อ แม่ ผู้ปกครอง
- แบบคัดกรองความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 3-5 ปี สำหรับ สำหรับครู/ผู้ดูแลเด็ก
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 6-11 ปี สำหรับครู
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์เด็กอายุ 6-11 ปี สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง
- แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ Emotional Quotient :EQ
แบบทดสอบจากเวบของกรมสุขภาพจิต
- ดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสมบูรณ์ใหม่ ปี 2547 (54 ข้อ)
- ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสั้นใหม่ ปี 2547 (15 ข้อ)
- เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL – BREF – THAI)
- แบบสอบถาม General Health Questionnaire ฉบับภาษาไทย
- แบบวัดความเครียดสวนปรุง ( Suanprung Stress Test-20, SPST – 20 )
- ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทย Thai Happiness Indicators (TMHI – 15)
- ดัชนีชี้วัดความสุขคนไทยฉบับสมบูรณ์ Thai Happiness Indicators (TMHI – 66)
- แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น
- แบบคัดกรองพัฒนาการเด็ก
- แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าในเด็ก
- แบบคัดกรองโรคในกลุ่มพัฒนาการผิดปกติอย่างรอบด้าน สำหรับเด็กอายุ 1-18 ปี

สถาบันราชานุกูล … “ราชาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชู”
สถาบันราชานุกูล เดิมมีชื่อว่า โรงพยาบาลปัญญาอ่อน เป็นโรงพยาบาลพิเศษเฉพาะที่ตั้งขึ้น เพื่อให้บริการด้านบำบัดรักษาแก่ผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญา แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีรับมอบเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2503
ต่อมาทางโรงพยาบาลได้จัดบริการด้านการฝึกอบรม โดยเริ่มมีห้องเรียนในปีแรกเพียงห้องเดียว กั้นแบ่งออกจากตึกนอนของคนไข้ส่วนหนึ่ง นำมาใช้บริการนี้และมีพยาบาลช่วยกันสอนในระยะแรก เนื่องจากยังไม่มีตำแหน่งครู หลักการสอนในชั้นเรียนก็เพียงเพื่อตรึงนักเรียนให้รู้จักสิ่งรอบๆ ตัวเองและให้มีกิจกรรมทำเท่านั้น อีก 2 ปี ต่อมาโรงเรียนขยายเป็น 3 ห้องเรียน ซึ่งขณะนั้นเริ่มมีครูอาชีวะ และครู ป.กศ. เข้ามาร่วมสอนแต่บางห้องก็ยังใช้พยาบาลช่วยทำการสอนอยู่ จนในปี 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาพระราชทานเงินรายได้จากการฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ชุดเสด็จฯเยือนประเทศมาเลเซีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เพื่อสร้างโรงเรียนสอนเด็กที่มีภาวะบกพร่องทางสติปัญญาขึ้น ให้รู้จักช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน สามารถปรับตัวและเรียนรู้การอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างปกติสุข รวมถึงการสอนวิชาชีพให้ตามความถนัดของเด็กที่สามารถจะเรียนรู้ได้ นับเป็นต้นแบบโรงเรียนการศึกษาพิเศษแห่งแรกในประเทศไทย และพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “โรงเรียนราชานุกูล” โดยมีห้องเรียน 10 ห้อง มีรูปแบบอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมไทยร่วมสมัย และต่อมาจึงได้งบประมาณพัฒนาสร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้นอีก 1 หลัง ทำให้การเรียนการสอนสมบูรณ์ขึ้น ตั้งแต่นั้นมากิจการของโรงเรียนได้ก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เป็นแหล่งศึกษาดูงานของนิสิตนักศึกษา แพทย์ พยาบาลและครู
ในเวลาต่อมา…โรงพยาบาลปัญญาอ่อนจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ชื่อ “โรงพยาบาลราชานุกูล” เช่นเดียวกับชื่อของโรงเรียน ซึ่งได้มีพระบรมราชานุญาต เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522 นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างยิ่ง นำมาซึ่งความปลาบปลื้มต่อผู้ป่วย และญาติพี่น้อง ตลอดจนบุคลากรของโรงพยาบาลฯ โดยทั่วหน้า
ข้อมูลจาก สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต
เว็บไซต์ https://th.rajanukul.go.th
ภาพหน้าปกโดย karelinlestrange จาก Pixabay
Leave a Reply