News Ticker

“หวยล็อก-ล็อกหวย” กับการศึกษาทางสถิติ

** ข้อเขียนนี้มุ่งเน้นศึกษาข้อมูลทางสถิติเพื่อหาคำตอบทางวิชาการ มิได้มีจุดมุ่งหมายสนับสนุนการพนันแต่อย่างใด **

หวย เป็นสิ่งที่แทบจะแยกไม่ออกจากชีวิตคนไทยไม่ว่าจะมีฐานะอย่างไรหรือการศึกษาเท่าใดแทบทุกคนจะได้ลองเสี่ยงโชคจากหวยไม่ว่าจะเป็นบนดินหรือใต้ดิน แต่ทุกคนมักมีข้อสงสัยว่าหวยล็อกหรือไม่ และงวดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา เลขท้ายของรางวัลที่หนึ่งออก 404ซึ่งตรงกับเลขท้ายของรถยนต์ที่นายกรัฐมนตรีก้าวพลาดและหกล้มจึงมีการพูดว่าเป็นหวยล็อกหรือไม่ ถ้าเราจะแก้ปัญหาคำถามนี้ด้วยความรู้ทางสถิติ ผู้เขียนเก็บข้อมูลเลขท้าย 2 ตัวตั้งแต่ งวดวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2533 ถึงงวดวันที่ 1เมษายน 2557 เป็นระยะกว่า 20 ปี จำนวน 582 งวด

จากแนวคิดการทดสอบสมมุติฐานที่ว่าถ้าเลขท้าย 2 ตัวล่างไม่ใช่หวยล็อก หมายความว่า เลขท้าย 2 ตัวล่าง ได้แก่ เลข 00 ถึงเลข 99 จะต้องมีโอกาสที่จะออกเท่ากัน หรือกล่าวง่ายๆ ว่าเลขแต่ละตัวมีจำนวนครั้งในการเกิดเท่ากับ 582/100=5.82ครั้งนั่นแสดงว่าจะต้องมีจำนวนครั้งในการเกิดประมาณ 5 ถึง 6 ครั้ง จากข้อมูลดังตาราง

10306792_10152362306952674_228764288_n(ข้อมูลจาก http://lotto.narak.com/lottery_last2digit.php)

สำหรับสถิติที่ใช้ทดสอบเป็นสถิตินอนพารามิเตอร์ คือ goodness of fit test (สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้ศึกษาหรือ ไม่ทราบรายละเอียดอาจหาอ่านหนังสือเพิ่มเติมได้) สูตรที่ใช้คือ

statพบว่าค่าสถิติไคกำลังสองที่คำนวณได้เท่ากับ 104.5248 ซึ่งได้ค่าพี (p-value) เท่ากับ 0.3326 นั่นแสดงว่าเลขท้าย 2 ตัวแต่ละตัวมีโอกาสเกิดขึ้นเท่ากัน แต่งานศึกษาครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นภาพรวมของการออกเลขท้าย 2 ตัวไม่มีการล็อกเลข แต่เราไม่สามารถสรุปได้ว่าถ้ามีการล็อกเลขสักหนึ่งหรือสองครั้ง หรือนานๆครั้งจะเกิดขึ้นไม่ได้ และถ้าเราเชื่องานศึกษาครั้งนี้เราจะมีวิธีซื้อเลขท้าย 2 ตัว อย่างไรให้มีโอกาสถูกรางวัลมากที่สุด ผู้อ่านสามารถติดตามได้ในครั้งต่อไป

 

ข้อมูลอัพเดท April 28, 2014


 

Sirilak_S

โดย รศ. ศิริลักษณ์ สุวรรณวงศ์

ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 

เครดิต คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล

Leave a Reply

%d bloggers like this: